หน่วยที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาทำให้ได้ทราบถึงหลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา ซึ่งได้แก่
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่ง กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
แนวคิดของธอร์นไดค์ ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ คือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขา ไว้ 5 ประการคือ
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning)
เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าว ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
แนวคิดของสกินเนอร์
นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม
หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ
2.การพัฒนามโนทัศน์
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล
9.การถ่ายโยงที่ดี
10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น
แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski)
การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน
ทฤษฎีการรับรู้
เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกต และวัดได้จากการศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปในลักษณะที่พึงประสงค์
ทฤษฎีกลุ่มความรู้ (Cognitive)
นักทฤษฎีทางการศึกษาและนักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม ทฤษฎีทางจิตวิทยา
ทฤษฎีระบบ (System Theory) ศิริวรรณ เสรีรัตน์. สมชาย หิรัญกิตติ, สุดา สุวรรณาภิรมย์, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์, และ ชวลิต ประภวานนท์ (2539, หน้า 31) ให้ความหมายของระบบว่าเป็นกลุ่มของส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งกัน ต้องการบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน
ทฤษฏีการเผยแพร่ (Diffusion Theories)
การเผยแพร่ (Diffusion) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมนั้นได้รับการยอมรับและ
ถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนที่เป็นเป้าหมาย
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ
2. ความเข้าใจ
3. การประยุกต์
4. การวิเคราะห์
5. การสังเคราะห์
6.การประเมินค่า
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
ทฤษฎีของกาเย่ นี้จะให้ความสำคัญในการจัดลำดับขั้นการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไดอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ประกอบด้วย
-การจูงใจ
-การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
-การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ
-ความสามารถในการจำ
-ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว
-การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้
-การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
1.ผู้เรียน
2.สิ่งเร้า
3.การตอบสนอง
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response)
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
แนวคิดของสกินเนอร์
คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น